เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ
จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้
จึงเกิดแนวความคิดว่า |
|
-ธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่ เช่น
มีร้อนก็ต้องมีเย็น , มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย |
|
-ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา
ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่
ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ในความจริงแล้วไม่มีความสุข
ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน |
|
-วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้
หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ |
|
|
- สิ่งที่ทรงพบเห็นเรียกว่า
"เทวทูต(ทูตสวรรค์)" จึงตัดสินพระทัยทรงออกผนวช
ในวันที่พระราหุลประสูติเล็กน้อย พระองค์ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช มีนายฉันทะตามเสด็จ
โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเกศา
และเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นผ้ากาสาวพักตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้)
ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า
การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) |
|
- หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา
แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร
เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่แปด)
ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้ |
|
|
- จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา
ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ)
เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี
ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา
หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า
"เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ" ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป
พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า
เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้ |
|
- ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์
(โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ)
มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ
เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา
พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ต.สารนาถ) |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น